สรุปประเด็นสำคัญจากสื่อประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2560
1. ด้านเศรษฐกิจ
1.1) ปลดธงแดง ICAO
- นสพ.หลายฉบับ : นรม. แถลงภายหลัง ผอ.ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ICAO เข้าพบ ว่า ถือเป็นวันเกียรติยศ ที่อยากจะอ่านแถลงการณ์การถอดรายชื่อไทยออกจากความเสี่ยงต่อภัยด้านการบินพลเรือน วันนี้ถือเป็นการประกาศ อย่างเป็นทางการตามที่ไอเคโอได้ตรวจสอบข้อบกพร่อง 33 ข้อ ตั้งแต่ 18 มิ.ย. 58 (+)
รมว.คค. เผย การปลดธงแดงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการกลับมาสู่มาตรฐานการบิน ระดับสากลของไทย รอแก้ปัญหาสายการบินอีก 10 ราย ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ (+)
ปลัด กก. เผย การปลดธงแดงทำให้ธุรกิจการบินไทยดีขึ้นและส่งผลโดยตรงกับการท่องเที่ยวตามไปด้วย (+)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย ที่ผ่านมาธุรกิจสายการบินไทยเสียหายกว่า 11,300 ล้านบาท การปลดธงแดง ครั้งนี้จะส่งผลให้ธุรกิจสายการบินไทยปี 60 มีรายได้ 277,900ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 294,500 ล้านบาท ในปี 61 (+)
1.2) ตลาดหุ้นไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก
- ไทยโพสต์ : กก.ผจก.ตลท. เผย Cooperate Knight และ Aviva เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับความ ยั่งยืนตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก 55 แห่ง ไทยติดอันดับ 10 และเป็นตลาดเอเชียรายเดียวที่ติด 10 อันดับแรกของโลก โดยประเทศที่ติดอันดับแรก เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส อังกฤษ และไทย (+)
1.3) บัตรสวัสดิการฯ
- นสพ.หลายฉบับ : นรม. เผย ระยะแรกย่อมมีปัญหา รัฐบาลพร้อมทำทุกอย่าง ทำเยอะก็ปัญหาเยอะ ถ้าทุกคนเข้าใจ ร่วมมือก็จะไปด้วยดี ไม่ควรติติงทั้งหมดว่าล้มเหลว (+)
1.4) การนำเข้าหมูจากสหรัฐฯ
- นสพ.หลายฉบับ : รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พณ. เผยถึงกระแสข่าวว่าไทยถูกกดดันการเปิด นำเข้าเนื้อสุกรว่า หน่วยงานระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ซึ่งมีสมาชิก 187 ประเทศ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐาน อาหารปลอดภัย ทั้งนี้ CODEX ได้มีมติเมื่อ ก.ค. 55 กำหนดความปลอดภัยสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้างในเนื้อสุกร 4 ชนิด คือ กล้ามเนื้อ ไขมัน หัวใจ ตับและไต ทำให้ไทยต้องดำเนินการปรับมาตรฐานตามมติ CODEX ปัจจุบันไทยไม่มีข้อจำกัดเรื่อง การนำเข้าหมูปลอดสาร ส่วนหมูที่มีสารตกค้างจากสารเร่งเนื้อแดงยังไม่มีการนำเข้าเพราะต้องปรับปรุงกฎหมาย (+/-)
รมว.กษ. เผย ในการประชุม ครม. จะสอบถามความชัดเจน หากนำเข้าจริงจะกระทบต่อเกษตรกร (+/-)
1.5) พลังงานทดแทน
- The Nation : “The End of Fossil is Near: Industry” พลังงานทดแทนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเข้ามาเป็นพลังงานหลักในอนาคต ถึงแม้ว่า ปธน.สหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้พลังงานฟอสซิล และไทยวางแผน จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่นักธุรกิจด้านพลังงานเห็นว่าอนาคตพลังงานทดแทนซึ่งมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ กำลังสดใส (+)
ดร.วันดีฯ ผู้บริหาร บมจ.เอสพีซีจี เผย ขณะนี้ตลาดโซลาร์ขนาดเล็กก าลังคึกคัก ผู้ประกอบการหลายราย ซื้อระบบโซลาร์รูฟท็อปไปเพื่อลดค่าไฟฟ้าและลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (+)
น.ส. Mafalda Duarte ผู้บริหารกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (The Climate Investment Fund) เผย สังเกตสถานการณ์พลังงานไทยตั้งแต่ปี 43 พลังงานทดแทนไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นจากการที่ ธนาคารหลายแห่งสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน นอกจากนี้ ประชาชนยังได้รับประโยชน์จากการ พัฒนาพลังงานทดแทนเพราะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและคุณภาพชีวิตพัฒนาขึ้น รัฐบาลควรมีนโยบายที่แน่นอนมากกว่านี้ เกี่ยวกับพลังงานทดแทน (+)
1.6) ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ
- กรุงเทพธุรกิจ บทความพิเศษ โดย รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรศิลป์ จุฬาฯ “การจัดเก็บค่าใช้น้ำ ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์” เขียนถึงรัฐไม่ควรมองเป็นการสร้างรายได้ แต่ควรมองว่าเป็นตัวช่วยในการจัดสรรน้ำ และทำให้คนเห็นคุณค่าของน้ำ (+/-)
1.7) ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- โพสต์ทูเดย์ คอลัมน์เซียนอาเซียน “ลดเหลื่อมล้ำด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์” เขียนถึงบทบาทสำคัญ ในการลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน คือระบบการผลิตที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อต่อยอดและเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ในชุมชน (+)
ภาพรวมจากสื่อ
- สื่อให้ความสนใจการถอดรายชื่อไทยออกจากความเสี่ยงต่อภัยด้านการบินพลเรือน และโอกาสของการ ขยายตัวของธุรกิจการบิน รวมทั้ง ข่าวการให้ข้อมูลเท็จกรณีบัตรสวัสดิการฯ เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและผลงาน ของรัฐบาลที่จะกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นฐานเสียงของ พท.
- ประเด็น พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช มีบทความและคอลัมน์เขียนถึงผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรซึ่งเป็น ประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ โดยหลายฝ่ายหยิบยกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง
2. ด้านการเมือง
2.1) สถานการณ์การเมือง
- นสพ.หลายฉบับ : นรม. เผย ขอสัญญากับทุกท่านว่าจะไม่พูดเรื่องการเมืองอีก เพราะพูดไปหมดแล้ว ขออธิบายในเรื่องที่เป็นปัญหาและให้ระดับปฏิบัติไปแก้ปัญหา ส่วนการเมืองก็ว่ากันไป (+)
2.2) การอนุญาตพรรคการเมืองทำกิจกรรม
- นสพ.หลายฉบับ : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นรม. ปฏิเสธตอบคำถามพร้อมกับยิ้มแล้วส่ายหน้าภายหลัง ผู้สื่อข่าวสอบถามหลัง พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ประกาศใช้เมื่อ 7 ต.ค. 60 (+/-)
พล.อ.ประวิตรฯ รอง นรม. เผยกรณีพรรคการเมืองต้องการให้ปลดล็อคกิจกรรมทางการเมือง โดยยืนยันว่ากฎหมายลูกยังไม่เสร็จ ยังมีเวลาอีกตั้งปีกว่า (+/-)
ปธ.กรธ. เผย ยืนยันว่าพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามกรอบกฏหมายลูกได้ แต่ห้ามประชุม ดำเนินกิจการหรือจัดตั้งพรรค คาด 1 - 2 วันนี้ คสช.จะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง (+/-)
นายสุรชัยฯ รอง ปธ.สนช. คนที่ 1 กล่าวถึงกรณีกฎหมายพรรคการเมืองมีผลบังคับใช้ ซึ่งเกี่ยวโยง กับการท ากิจกรรมของพรรคการเมืองว่า คสช.กำลังพิจารณาอยู่ในการประชุมร่วม คสช. – ครม. ใน 10 ต.ค. 60 อาจมีวาระดังกล่าว (+/-)
2.3) การปฏิรูปการเมือง
- นสพ.หลายฉบับ : นายสุริยะใสฯ รองคณบดี ม.รังสิต และผอ.สถาบันปฏิรูประชาธิปไตย โพสต์ ข้อความระบุ นักการเมืองอยากเลือกตั้งแต่ยังไม่คิดอยากปฏิรูปตัวเอง เป็นเรื่องยากที่ นรม. จะประกาศวันเลือกตั้ง เพราะความชัดเจนของ พ.ร.ป. ยังมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนสูงยากที่จะคาดเดา (+)
3. ด้านสังคม-จิตวิทยา
3.1) สถานการณ์น้ำ
- นสพ.หลายฉบับ : กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายว่า 9 – 11 ต.ค. 60 มีฝนเพิ่มขึ้นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน 12 – 15 ต.ค. 60 ยังมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในภาคอีสานและภาคกลาง 15 – 17 ต.ค. 60 ติดตามการก่อตัวของพายุที่จะมีความชัดเจนใน 13 ต.ค. 60 รองอธิบดีกรมชลประทาน เผย เขื่อนภูมิพลมีน้ำ 10% ของความจุ และเขื่อนสิริกิติ์ 80% ของ ความจุ เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำเต็มความจุ 100% จะต้องระบายน้ำเพิ่ม รมว.กษ. ได้สั่งการให้แจ้ง ผวจ. / อปท. ถึงปริมาณน้ำ รมว.กษ. ได้สั่งการให้ติดตามสถานการณ์การก่อตัวของพายุและรายงานทุก 6 ชม. (+/-)
3.2) ไมโครบัสวิ่งแทนรถตู้
- นสพ.หลายฉบับ : ปธ.กก.บขส. เปิดตัว รถโดยสารขนาดเล็กหรือไมโครบัส สายราชบุรี-กรุงเทพฯ ทดแทนรถตู้เดิมที่มีอายุครบ 10 ปี โดยจะให้บริการ ตจว. ไม่เกิน 300 กม. ค่าโดยสาร 120บาท/ที่นั่ง เปิดให้บริการ 11 ต.ค. 60 ควบคู่ไปรถตู้ที่ยังไม่หมดอายุใช้งาน นำร่อง 55 คัน 13 เส้นทาง จากรถตู้ทั้งหมด 6,030 คัน ที่จะหมดอายุ ในปี 61 จ นวน 100 คัน (+)
3.3) WHO ชมไทยรักษาโรคไม่ติดต่อเรือรังดีที่สุดในเอเชีย
- นสพ.หลายฉบับ : ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำไทย เผย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาที่สำคัญมาก คาดว่าในเอเชียใต้-ตะวันออก เสียชีวิตวันละ 23,000 ราย ที่มีสาเหตุจากสูบบุหรี่ กินเหล้า กินอาหารหวาน มัน เค็ม ไม่ออกก าลังกาย ในไทยต้องชื่นชมว่า สธ. ผลักดันอย่างเข้มแข้ง แก้ปัญหาระดับภูมิภาคได้อย่างน่าพอใจ โดยปีนี้ได้ 12 คะแนนจาก 19 คะแนน ถือว่าดีที่สุดในเอเชียใกล้เคียงกับฟินแลนด์ จากเดิมปี 58 ได้ 8 คะแนน แต่ไม่ควรชะล่าใจ ต้องทำให้คนไทยตระหนักถึงความเสี่ยง (+)
3.4) กระทรวงทรัพยากรฯ ออกคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ใน 20 ชายหาด
- นสพ.หลายฉบับ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. ออกคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ใน 20 ชายหาด เช่น บางแสน พัทยา ชะอำ ป่าตอง แม่พิมพ์ แหลมสิงห์ สีชัง ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสน หรือทั้งจำและปรับ (+/-)
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. เผย ขณะนี้ปัญหาขยะทะเลของประเทศไทยค่อนข้าง มีความรุนแรง โดยเฉพาะขยะทะเลที่มาจากกิจกรรมการสูบบุหรี่ โดยก้นกรองบุหรี่เป็นขยะที่พบได้บ่อยที่สุด หาดป่าตอง 2.5 กม. พบก้นบุหรี่ 1.3 แสนมวน (+/-)
3.5) กรมอุทยานฯ แถลงการณ์จัดเก็บรายได้
- นสพ.หลายฉบับ : ข่าวรายงานว่าอุทยานแห่งชาติ 147 แห่งทั่วประเทศจัดเก็บได้เงิน 2,400 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ปี 56 เก็บได้ 662 ล้านบาท ปี 57 ได้ 696 ล้านบาท หลังจากที่ได้แก้ปัญหาการทุจริตรั่วไหลทำให้ รายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว (+)
3.6) โรงงำนกระทิงแดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
- นสพ.หลายฉบับ : ชาวบ้านพื้นที่ ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 200 คน รวมตัวที่หน้าอำเภอ ให้ทบทวนการยกเลิกแผนการก่อสร้างโรงงานกระทิงแดง เนื่องจากมีความกังวลว่าจะกระทบต่อการจ้างงานในพื้นที่ โดยมี ผู้ลงชื่อ 5,500 ราย และนายอำเภออุบลรัตน์เป็นผู้รับเรื่องดังกล่าว (+/-)


...............................................

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
  • 10-10-2017 6-11-29 PM.jpg
  • 10-10-2017 6-14-07 PM.jpg
  • 10-10-2017 6-15-26 PM.jpg
  • 081017-TM1.jpg
  • S__6504488.jpg
  • S__6504489.jpg