ประเด็นการประเมินผล : ความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

ตัวชี้วัดที่ 7.1 ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

น้ำหนัก : ร้อยละ 3

คำอธิบาย :    

                ความสำเร็จของการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยส่วนราชการต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคา และการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการ ซึ่งพิจารณาจากความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละระดับ

 

เกณฑ์การให้คะแนน :

แบ่งคะแนนเป็น 5 ระดับ โดยพิจารณาจากระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone)                   ตามเป้าหมายแต่ละระดับ ดังนี้

 

 

ระดับคะแนน

ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone)

ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 5

1

?

 

 

 

 

2

?

?

 

 

 

3

?

?

?

 

 

4

?

?

?

?

 

5

?

?

?

?

?

 

ขั้นตอน

รายละเอียดการดำเนินงาน

1

ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ดังนี้

 

  • จัดสถานที่/ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก และมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารของส่วนราชการเป็นการเฉพาะ

 

  • มีป้ายแสดงสถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้สำหรับการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่เข้าใจได้ง่ายและมองเห็นได้ชัดเจน

2

จัดระบบข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มาตรา 9 ดังนี้

 

  • มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน

 

  • จัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารไว้ให้บริการ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอย่างชัดเจนและสามารถสืบค้นได้สะดวก รวดเร็ว

ขั้นตอน

รายละเอียดการดำเนินงาน

3

บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ โดยดำเนินการ ดังนี้

 

  • มอบหมายให้ผู้บริหารระดับรองหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน                ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นการเฉพาะ

 

  • ผู้บริหารของส่วนราชการให้ความสำคัญและควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างเคร่งครัด เช่น มีการประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นต้น

 

  • จัดเก็บสถิติและสรุปผลการมาใช้บริการรายงานให้ผู้บริหารของส่วนราชการทราบ          อย่างสม่ำเสมอ (รายเดือนหรือรายไตรมาส)

4

เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ ดังนี้

 

  • จัดอบรม ให้ความรู้ และพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสาร
  • จัดกิจกรรม/มีการดำเนินการตามมาตรการ/วิธีการในการสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดี       ต่อการเป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่บุคลากรในส่วนราชการอย่างสม่ำเสมอ

 

  • ประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการให้ประชาชนรับทราบถึงสิทธิในการตรวจสอบการดำเนินงานของส่วนราชการ ผ่านช่องทางต่างๆ  อย่างน้อย 5 ช่องทางโดย 1 ใน 5 ช่องทางจะต้องเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

 

  • รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านทางช่องทางต่างๆ และมีการนำความคิดเห็นของประชาชนมาพิจารณาประกอบการบริหารจัดการด้านการเปิดเผยหรือให้บริการข้อมูลข่าวสาร

5

  • นำข้อมูลประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคาที่หัวหน้าส่วนราชการลงนามแล้ว เผยแพร่บนเว็บไซต์ของส่วนราชการ

 

  • จัดทำสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายเดือนและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของส่วนราชการ        ทุกเดือน

 

 

 

เหตุผล :

เพื่อสนับสนุนให้ส่วนราชการมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และดำเนินการ ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคา และการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการ

หมายเหตุ :

  1. ส่วนราชการสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้
  2. ให้ส่วนราชการมีหน้าที่รับผิดชอบการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการของส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง และส่วนราชการที่เป็นราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการอยู่ในส่วนภูมิภาค และมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมหลายจังหวัดให้นับเป็นงานของส่วนกลาง เช่น สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 2 ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัด เป็นต้น รวมทั้งส่วนราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการหรือมีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการ เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานสรรพากรภาค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
  3. มาตรา  9 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ บัญญัติไว้ดังนี้ 

มาตรา 9 ภายใต้บังคับมาตรา  14  และมาตรา  15  หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้   ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

               (1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว

               (2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 (4)

               (3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ

               (4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน

(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง

               (6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ

               (7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี  ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงาน           ทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย

               (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

               ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามวรรคหนึ่ง  ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย ตามมาตรา  11 หรือมาตรา  12             อยู่ด้วย  ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น

               บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้  ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย  ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

  1.  คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงส่วนราชการสามารถดาวน์โหลด พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้จากเว็บไซต์ www.oic.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

 

หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ชื่อผู้รับผิดชอบ

เบอร์โทรศัพท์

1.

นายนคร เสรีรักษ์

0 2282 9270

2.

นางศิริกุล ปัญญาดิลก

0 2281 8552-3 ต่อ 34

3.

นางสาวสุดา  ศิลากุล

0 2282 9270

 

 

แนวทางการประเมินผล :

ระดับคะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

แนวทางการประเมินผล

1

ขั้นตอนที่ 1 :

ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ดังนี้

  • จัดสถานที่/ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อบริการข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 เพื่อให้ประชาชนสามารถ          เข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ได้โดยสะดวก และมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารของส่วนราชการเป็นการเฉพาะ
  • มีป้ายแสดงสถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้สำหรับการให้บริการข้อมูลข่าวสาร ที่เข้าใจ    ได้ง่ายและมองเห็น        ได้ชัดเจน

1. ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ

  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงาน ดังนี้
  • เอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าส่วนราชการมีการจัดสถานที่/จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารและมีการติดป้ายบอกสถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เช่น             
    •     บันทึก/หนังสือที่ผู้บริหารของส่วนราชการสั่งการให้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารขึ้นภายในส่วนราชการ
    •     ภาพถ่ายสถานที่ตั้งของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ         ส่วนราชการ

และ

-      หนังสือแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบหรือ                    มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร

-  ภาพถ่ายป้ายบอกถึงสถานที่ตั้งของศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ ที่เข้าใจได้ง่ายและติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน

2

ขั้นตอนที่ 2 :

จัดระบบข้อมูลข่าวสาร       ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มาตรา 9 ดังนี้

  • มีข้อมูลข่าวสาร           ตามมาตรา 9 ครบถ้วน  และเป็นปัจจุบัน
  • จัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสาร     ไว้ให้บริการ               ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร         อย่างชัดเจนและสามารถสืบค้นได้สะดวก รวดเร็ว

ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ

  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงานเช่นเดียวกับระดับคะแนน 1 และแสดงถึงการจัดระบบข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ดังนี้
  • ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้บริการ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ ครบทุกประเภทที่ระบุไว้ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540  ทั้งนี้ ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ  ได้แก่
    • ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรง            ต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
    • นโยบายและการตีความ
    • แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีงบประมาณที่กำลังดำเนินการ
    • คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ ของเอกชน
    • สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงในราชกิจจานุเบกษา
    • สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
    • มติคณะรัฐมนตรีหรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้ง       โดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี               ทั้งนี้  ให้ระบุรายชื่อ รายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย

 

 

    • ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้  ได้แก่ ประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคาของหน่วยงานของรัฐที่หัวหน้า      ส่วนราชการลงนามแล้ว และ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ
  • ภาพถ่าย/เอกสารแสดงดัชนีข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้บริการที่มีคำอธิบายที่ชัดเจนหรือแสดงให้เห็นถึงวิธีการสืบค้นข้อมูลข่าวสารจากดัชนี    

 

3

ขั้นตอนที่ 3 :

บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร             อย่างเป็นระบบ                   โดยดำเนินการ ดังนี้

  • มอบหมายให้มีผู้บริหารระดับรองหัวหน้า        ส่วนราชการรับผิดชอบ    ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นการเฉพาะ
  • ผู้บริหารของส่วนราชการให้ความสำคัญและควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ       อย่างเคร่งครัด เช่น มีการประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นต้น
  • จัดเก็บสถิติและสรุปผลการมาใช้บริการ รายงานให้ผู้บริหารของส่วนราชการทราบอย่างสม่ำเสมอ      (รายเดือนหรือรายไตรมาส)

ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ

  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงานเช่นเดียวกับระดับคะแนน 1 และ 2 พร้อมทั้งเอกสาร เช่น
  • คำสั่งแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้บริหารระดับรองหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบงานตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • บันทึกการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของส่วนราชการที่มีผู้บริหารเข้าร่วมในการประชุม
  • ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม/เอกสารประกอบการจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น ระเบียบ/คำสั่ง/หนังสือสั่งการของผู้บริหารของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
  • บันทึก/หนังสือ/รายงานสรุปผลการดำเนินงาน        ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่เสนอต่อผู้บริหารของ       ส่วนราชการเป็นรายเดือน/รายไตรมาส ซึ่งระบุสถิติของผู้มาใช้บริการที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

 

4

ขั้นตอนที่ 4 :

ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ

 

เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้บุคลากรของ    ส่วนราชการและประชาชนทราบ ดังต่อไปนี้

  • จัดอบรม ให้ความรู้ และพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสาร
  • จัดกิจกรรม/มีการดำเนินการตามมาตรการ /วิธีการในการสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่บุคลากร                 ในส่วนราชการ           อย่างสม่ำเสมอ
  • ประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการให้ประชาชนรับทราบถึง  สิทธิในการตรวจสอบ     การดำเนินงานของ           ส่วนราชการผ่านช่องทางต่างๆ อย่างน้อย 5 ช่องทาง โดย 1 ใน 5 ช่องทางจะต้องเป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านทางช่องทางต่างๆ และมีการนำความคิดเห็นของประชาชนมาพิจารณาประกอบการบริหารจัดการด้านการเปิดเผยหรือให้บริการข้อมูลข่าวสาร
  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงานเช่นเดียวกับระดับคะแนน 1, 2 และ 3 พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าส่วนราชการมีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ ดังนี้
  •  แผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง ปฏิทินการดำเนินงาน (Gantt Chart) และรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
  • คำสั่ง/หนังสือเวียน/หนังสือเชิญหรืออนุมัติให้เข้าอบรม 
  • ชื่อเรื่อง/หัวข้อ/หลักสูตรที่จัดอบรม
  • วัน เวลา และสถานที่จัดอบรม
  • จำนวนผู้เข้าอบรมและทะเบียนรายชื่อผู้เข้าอบรมลงนามเข้าอบรม
  • ภาพถ่ายการจัดอบรม 
  • แผนงาน/โครงการ/มาตรการ/ปฏิทินการดำเนินงาน (Gantt Chart) การสร้างจิตสำนึกและทัศคติที่ดีต่อการเป็นผู้ให้บริการ ข้อมูลข่าวสารและรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
  • หนังสือสั่งการหรือเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์สร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้ให้บริการ ข้อมูลข่าวสาร 
  • วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
  • ภาพถ่าย/เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม 
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงถึงการดำเนินการตามมาตรการ/วิธีการในการสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อการเป็น       ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารให้แก่บุคลากรของส่วนราชการ      เป็นต้น
  • ตัวอย่างเอกสารและชื่อช่องทางอิเล็กทรอนิกส์              ที่ส่วนราชการใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง หรือให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการและสิทธิของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของส่วนราชการ เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว จดหมายข่าว จุลสาร วารสาร การจัดนิทรรศการ ประกาศต่าง ๆ เป็นต้น
  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงว่าส่วนราชการจัดให้มีระบบหรือมีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ จริง เช่น

-  ชื่อช่องทางที่จัดไว้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและข้อมูลที่ได้จากช่องทางดังกล่าว

-  ภาพถ่ายการจัดกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็น

-  บันทึกการประชุม/เอกสารสรุปผลการจัดรับฟัง         ความคิดเห็น

-  แบบสอบถามความคิดเห็น และสรุปผลที่ได้จากแบบสอบถาม เป็นต้น

  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงว่าส่วนราชการได้นำความคิดเห็นของประชาชนมาพิจารณาหรือใช้ประกอบการบริหารจัดการงานด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เช่น

-  บันทึกการประชุม

-  บันทึก/หนังสือสั่งการของผู้บริหารของส่วนราชการ โดยอ้างอิงความเห็นหรือข้อเสนอแนะที่ได้จากการ    รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ         เป็นต้น

5

ขั้นตอนที่ 5 :

ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ

 

  • นำข้อมูลประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคาที่หัวหน้า         ส่วนราชการลงนามแล้ว เผยแพร่บนเว็บไซต์   ของส่วนราชการ
  • จัดทำสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายเดือนและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ        ส่วนราชการทุกเดือน
  • เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงานเช่นเดียวกับระดับคะแนน 1, 2, 3 และ 4 และเอกสาร หลักฐานแสดงถึงการปฏิบัติ ดังนี้
      • เอกสารที่มีภาพพิมพ์หน้าเว็บไซต์ที่มีประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคาที่หัวหน้าส่วนราชการ           ลงนามแล้วและได้นำลงในเว็บไซต์ของส่วนราชการ
      •  ชื่อเว็บไซต์และ/หรือลิงค์ที่สามารถเข้าไปเรียกดูหรือตรวจสอบข้อมูลประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคาที่หัวหน้าส่วนราชการลงนามแล้ว
      • ชื่อเว็บไซต์และ/หรือลิงค์ที่มีการเผยแพร่สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้
      • เอกสารที่มีภาพพิมพ์หน้าเว็บไซต์ของส่วนราชการที่แสดงข้อมูลสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายเดือนของทั้งปีงบประมาณ

2. ประเมินผลจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ

  • ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด
  • ผู้จัดเก็บข้อมูล
  • เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของส่วนราชการ

3. การสังเกตการณ์  

  • ณ สถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของของส่วนราชการ

หมายเหตุ :

  • การจัดทำรายงานประเมินผลตนเองตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Self-Assessment Report) ขอให้ส่วนราชการสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมแนบตัวอย่างเอกสาร/หลักฐานหรือสรุปเอกสาร/หลักฐานที่สำคัญของตัวชี้วัดมาด้วย ส่วนเอกสาร/หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ไม่ได้จัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ขอให้จัดเตรียมไว้ ณ ส่วนราชการเพื่อพร้อมให้ผู้ประเมินตรวจสอบหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม